วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประวัติการกินเจ

         เทศกาลกินเจเดือนเก้า หรือ เทศกาลกินเจ (เก้าอ๊วงเจ หรือ กิวอ๊วงเจ) เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านานของชาวจีน โดยจะกำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือ เริ่มตั้งแต่ วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 9 ค่ำ ตามปฏิทินจีนของทุกๆ ปี รวม 9 วัน 9 คืน ผู้คนส่วนหนึ่งจะไม่กินเนื้อสัตว์   ทำให้ได้ช่วยชีวิตสัตว์ไว้ได้ส่วนหนึ่ง   เนื่องจากมีการฆ่าสัตว์น้อยลง    ผู้คนที่ศรัทธาในพุทธศาสนาจะพากันสละกิจโลกียวัตร  และ พากันเข้าวัดวาอารามบำเพ็ญศีลสมาทาน   กินเจ  คือ บริโภคแต่อาหารจำพวกพืชผัก และ ผลไม้เป็นหลัก    ละเว้นไม่กระทำกิจใด ๆ อันนำมาซึ่งการเบียดเบียนเดือดร้อนให้เกิดแก่สัตว์โลก   คือการไม่เอา ชีวิต เลือด เนื้อของสัตว์โลกให้มาเป็นของเรา   พากันซักฟอกมลทินออกจากร่างกาย วาจา และ ใจ  สวมเสื้อผ้าขาวสะอาด   เข้าวัดเข้าวา  พร้อมด้วยดอกไม้ธูปเทียน   ทำบุญทำทานแก่สัตว์โลกผู้ยากไร้   ถือศีลกิจเจเป็นเวลา  9  วัน ผู้ถือศีลกินเจ จะมีการชำระกระเพาะให้สะอาดก่อน  โดยการกินเจในมื้อเย็นก่อนวันจริง  1  มื้อ และ  มื้อเช้าหลังวันที่เก้าขึ้น  9  ค่ำอีก  1  มื้อเป็นการลา  ซึ่งจะเป็นวันส่งเจ้า  ในช่วง  9  วันนี้  ทุกวันคี่ จะถือเป็นวันเจใหญ่  พุทธบริษัทจะไปทำบุญ และ กินเจที่ศาสนสถาน  นอกนั้นจะถือศีลกินเจที่บ้านเทศกาลกินเจ    มาจากคำบอกเล่าที่เล่าต่อ ๆ กันมาเป็นเชิงปรำปรา  และ มาจากคำสอน ความเชื่อทางศาสนาพุทธ   ฝ่ายนิกายมหายาน  เป็นกุศโลบายให้คนทำความดี  เหมือนเช่นเรื่องอื่นๆ    แต่คนรุ่นหลังได้มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งพิธีการ เพื่อให้เกิดความขลัง  ให้มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น   จึงทำให้กลายเป็นพิธีการที่ต้องใช้เงินใช้ทองมากมายในการประกอบพิธีให้ครบถ้วน
ตำนานที่มาของการกินเจ มีเรื่องเล่าอยู่ถึง 7 เรื่องได้แก่

           ตำนานที่ 1 รำลึกถึงวีรชนทั้ง 9
          เทศกาลกินเจเริ่มขึ้นเมื่อ 400 กว่าปีที่แล้ว โดยชาวจีนกินเจเป็นการบำเพ็ญกุศลเพื่อรำลึกถึงวีรชน 9 คน ซึ่งเรียกว่า "หงี่หั่วท้วง" ซึ่งได้ต่อสู้กับชาวแมนจูผู้รุกรานอย่างกล้าหาญ ถึงแม้จะแพ้และต้องตายก็ตาม ดังนั้นเมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ชาวจีนที่ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของชาวแมนจู จึงพากันนุ่งขาวห่มขาว ถือศีลกินเจ เพื่อรำลึกถึงเหล่านักสู้ "หงี่หั่วท้วง" ที่ได้ต่อสู้พลีชีพในครั้งนั้น เพราะเชื่อว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะช่วยชำระจิตวิญญาณเกิดความเข้มแข็งทางร่าง กายและจิตใจ

           ตำนานที่ 2 บูชาพระพุทธเจ้า 
          เชื่อว่า เป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ด้วยกัน หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า "ดาวนพเคราะห์" ทั้ง 9 ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู และพระเกตุ ในพิธีกรรมบูชานี้ สาธุชนในพระพุทธศาสนาจะสละเวลาทางโลกมาบำเพ็ญศีล งดเว้นเนื้อสัตว์ และแต่งกายด้วยชุดขาว

           ตำนานที่ 3 เก้าอ๊องฝ่ายมหายาน
          กล่าวไว้ว่า การกินเจเป็นพิธีปฏิบัติที่สืบต่อกันมาของชาวจีนในประเทศไทย เพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์ ดังมีในพระสูตร ปั๊กเต๊าโก๋ว ฮุดเชียวไจเอียงชั่วเมียวเกง กล่าวไว้คือ พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ พระศรีรัตนโลกประภาโมษอิศวรพุทธะ พระเวปุลลรัตนโลกวรรณสิทธิพุทธะ พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะ พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธะ พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ พระเวปุลลจันทรโภคไภสัชชไวฑูรย์พุทธะ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ คือพระศรีสุขโลกปัทมอรรถอลังการโพธิสัตว์และพระศรีเวปุลกสังสารโลกสุขอิศวร โพธิสัตว์ รวมเป็น 9 พระองค์ (หรือ "เก้าอ๊อง")
ปั๊กเต๊าโก๋ว ฮุดเชียวไจเอียงชั่วเมียวเกง ซึ่งได้แก่ คือ
1.พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ (ดาวไท้เอี้ยงแช คือ พระอาทิตย์)
2.พระศรีรัตนโลกประภาโมษอิศวรพุทธะ (ดาวไท้อิมแช คือพระจันทร์ )
3. พระเวปุลลรัตนโลกวรรณสิทธิพุทธะ(ดาวฮวยแช คือ ดาวอังคาร)
4 พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะ(ดาวจุ้ยแช คือ ดาวพระพุทธ)
5.พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธะ(ดาวบักแช คือ ดาวพฤหัสบดี)
6. พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ(ดาวกิมแช คือ ดาวพระศุกร์)
7. พระเวปุลลจันทรโภคไภสัชชไวฑูรย์พุทธะ(ดาวโท้วแช คือ ดาวพระเสาร์)
และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ คือ
1.ใพระศรีสุขโลกปัทมอรรถอลังการโพธิสัตว์(ดาวล่อเกาแช คือพระราหู)
2.พระศรีเวปุลกสังสารโลกสุขอิศวร โพธิสัตว์ (ดาวโกยโต้วแช คือ พระเกตุ)
รวมเป็น 9 พระองค์ด้วยกัน หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า ดาวนพเคราะห์ ทั้ง 9 ได้แก่
พระอาทิตย์, พระจันทร์, ดาวพระอังคาร, ดาวพระพุธ, ดาวพระพฤหัสบดี, ดาวพระศุกร์, ดาวพระเสาร์ พระราหู และพระเกตุ
โดยกล่าวกันไว้ว่า พระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์รวมเป็น 9 พระองค์หรือ “เก้าอ๊อง” ซึ่งได้ทรงตั้ง ปณิธานจักโปรดสัตว์โลก จึงได้แบ่งกายมาเป็นเทพเจ้า 9 พระองค์ด้วยกันคือไต้อวยเอี๊ยงเม้งทัมหลังไทแชกุน ไต้เจียกอิมเจ็งกื้อมึ้งงวนแชกุน ไต้กวนจิงหยิ้งลุกช้งเจงแชกุน ไต้ฮั่งเฮี่ยงเม้งม่งเคียกนิวแชกุน ไต้ปิ๊กตังง้วนเนี้ยบเจงกังแชกุน ไต้โพ้วปั๊กเก๊กบู๊เอียกกี่แชกุน ไต้เพียวเทียนกวนพัวกุงกวนแชกุน ไต้ตั่งเม้งงั่วคูแชกุน ฮุ้ยกวงไตเพียกแชกุน เทพเจ้าทั้ง 9 พระองค์ ทรงอำนาจตบะอันเรืองฤทธิ์บริหารธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และทอง ทั่วทุกพิภพน้อยใหญ่สารทิศ
           ตำนานที่ 4 พิธีบูชาเพื่อระลึกถึงราชวงศ์ซ้อง
           เชื่อว่าการกินเจกินเจเป็นการบูชากษัตริย์เป๊ง กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซ้องซึ่งสิ้นพระชนม์โดยทรงทำอัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ในขณะที่เสด็จไต้หวันโดยทางเรือ เมื่อมีพระชนนมายุได้ 9 พรรษา พิธีบูชาเพื่อระลึกถึงราชวงศ์ซ้องนี้ มีแต่เฉพาะในมณฑลฮกเกี้ยนซึ่ง เป็นดินแดนผืนสุดท้ายของราชวงศ์ซ้องเท่านั้น โดยชาวฮกเกี้ยนได้จัดทำพิธีดังกล่าวนี้ขึ้นด้วยการอาศัยศาสนาบังหน้าการ เมือง ประเพณีนี้เข้ามาสู่เมืองไทยโดยชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพจากฮกเกี้ยนนำมาเผยแผ่ อีกทอดหนึ่ง

           ตำนานที่ 5 เล่าเอี๋ย
        เมื่อ 1,500 ปีก่อน ณ มณฑลกังไสซึ่งเป็นแดนแห่งความเจริญรุ่งเรือง ฮ่องเต้เมืองนี้มีพระราชโอรส 9 พระองค์ซึ่งเก่งทั้งบุ๋น บู๊ ทำให้หัวเมืองต่างๆ ยอมสวามิภักดิ์ ยกเว้นแคว้นก่งเลี้ยดที่มีอำนาจเข้มแข็ง และมีกองกำลังทหารที่เหนือกว่า ทั้งสองแคว้นทำศึกกันมาถึงครั้งที่ 4 แคว้นก่งเลี้ยดชนะโดยการทุ่มกองกำลังทหารที่มากกว่าหลายเท่าตัว โอบล้อมกองทัพพระราชโอรสทั้งเก้าไว้ทุกด้าน แต่กองทัพก่งเลี้ยดไม่สามารถบุกเข้าเมืองได้จึงถอยทัพกลับ จนวันหนึ่งชาวกังไสเกิดความแตกสามัคคีและเอาเปรียบกัน เทพยดาทราบว่า อีกไม่นานกังไสจะเกิดภัยพิบัติจึงหาผู้อาสาช่วย แต่ชาวบ้านจะพ้นภัยได้ก็ต่อเมื่อได้สร้างผลบุญของตนเอง ดวงวิญญาณพระราชโอรสองค์โตรับอาสา และเพ่งญาณเห็นว่า ควรเริ่มที่บ้านเศรษฐีใจบุญลีฮั้วก่าย     คืนวันหนึ่งคนรับใช้แจ้งเศรษฐีลีฮั้วก่ายว่า มีขอทานโรคเรื้อนมาขอพบ เศรษฐีจึงมอบเงินจำนวนหนึ่งให้เป็นค่าเดินทาง แต่ขอทานไม่ไป และประกาศให้ชาวเมืองถือศีลกินเจเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน ผู้ใดทำตามภัยพิบัติจะหายไป เศรษฐีนำมาปฏิบัติก่อน และผู้อื่นจึงปฏิบัติตาม จนมีการจัดให้มีอุปรากรเป็นมหรสพในช่วงกินเจด้วย  เล่าเอี๋ยเกิดศรัทธาประเพณีกินเจของมณฑลกังไส จึงได้ศึกษาตำราการกินเจของ เศรษฐีลีฮั้วก่ายที่บันทึกไว้ แต่ได้ดัดแปลงพิธีกรรมบางอย่างให้รัดกุมยิ่งขึ้นและให้มีพิธียกอ๋องฮ่องเต้ (พิธีเชิญพระอิศวรมาเป็นประธานในการกินเจ)

           ตำนานที่ 6 เล่าเซ็ง
           มีชายขี้เมาคนหนึ่งชื่อ เล่าเซ็ง เข้าใจผิดว่า แม่ตนตายไปเพราะเป็นโรคขาดสารอาหาร จนคืนหนึ่งแม่มาเข้าฝันว่า ตนตายไปได้รับความสุขมาก เพราะแม่กินแต่อาหารเจ และหากลูกต้องการพบให้ไปที่เขาโพถ้อซัว บนเกาะน่ำไฮ้ ครั้นถึงเทศกาลไหว้พระโพธิสัตว์กวนอิมที่เขาโพถ้อซัว เล่าเซ็งจึงขอตามเพื่อนบ้านไปไหว้พระโพธิสัตว์ด้วย โดยเพื่อนบ้านให้เล่าเซ็งสัญญาว่า จะไม่กินเหล้าและเนื้อสัตว์จึงยอมให้ไป แต่ระหว่างทางเล่าเซ็งผิดสัญญา เพื่อนบ้านจึงหนีไป โชคดีที่มีหญิงสาวคนหนึ่งต้องการไปไหว้พระโพธิสัตว์เช่นกัน เขาจึงขอตามนางไปด้วย  เมื่อถึงเขาโพถ้อซัว ขณะที่เล่าเซ็งก้มลงกราบพระโพธิสัตว์อยู่นั้น เขาเห็นแม่ลอยอยู่เหนือกระถางธูป แต่คนอื่นมองไม่เห็น ขณะเขาเดินทางกลับ ได้เจอกับเด็กชายยืนร้องไห้อยู่ จึงเข้าไปถามไถ่จนทราบว่า เด็กคนนั้นเป็นลูกชายของเขากับภรรยาเก่าที่เลิกกันไปนานแล้ว เขาจึงพาไปอยู่ด้วย และต่อมาหญิงสาวที่นำทางเล่าเซ็งไปพบพระโพธิสัตว์ได้มาขออยู่ด้วย ทั้งสามอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข หญิงสาวคนนั้นเป็นสาวบริสุทธิ์ มีความประพฤติดี อยู่ในศีลธรรม และถือศีลกินเจอยู่เป็นประจำ นางรู้ว่าใกล้ถึงวันตายของนางแล้ว จึงบอกเล่าเซ็ง เมื่อถึงวันนั้นนางแต่งตัวด้วยอาภาณ์ขาวสะอาด นั่งสักครู่แล้วก็สิ้นลม เล่าเซ็งเห็นการจากไปด้วยดีของนางคล้ายกับแม่ จึงเกิดศรัทธา ยกสมบัติให้ลูกชาย แล้วประพฤติตัวใหม่ เมื่อตายไปจะได้บังเกิดผลเช่นเดียวกับแม่ และหญิงสาว ประเพณีกินเจจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่นั้น

           ตำนานที่ 7 การกินเจที่ภูเก็ต
     มีคณะงิ้วจากเมืองจีน มาเปิดการแสดงที่อำเภอกระทู้นานเป็นแรมปี บังเอิญช่วงนั้นเกิดโรคระบาดขึ้น คณะงิ้วจึงจัดให้มีพิธีกินเจ และสร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อสะเดาะเคราะห์ หลังจากนั้นโรคระบาดก็หาย ชาวกะทู้เกิดความศรัทธาจึงปฏิบัติตาม หลังจากประกอบพิธีอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็มีผู้คนเลื่อมใสมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับอยากได้พิธีกินเจที่สมบูรณ์แบบตามประเพณีมณฑลกังไส ประเทศจีน จึงได้ส่งตัวแทนไปนำควันธูป (เหี่ยวเอี้ยน) จากกังไสให้ลอยมาถึงภูเก็ต โดยในการเดินทางกลับจะต้องคอยจุดธูปต่อกันมิให้ดับมอด ศาลเจ้ากะทู้จึงได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับของพิธีกินเจในปัจจุบัน หากจะถือตามนิยายปรำปราอิงประวัติศาสตร์ในปลายราชวงศ์ซ้อง ซึ่ง บันทึกไว้ในหนังสือ “ประวัติวัฒนธรรมจีน”  เรียบเรียงโดย   ล.เสถียรสุต  เล่าไว้ว่า   กษัตริย์องค์สุดท้ายมีพระชนม์ชีพเพียง  9  พรรษา เสด็จหนีพวกมงโกลไปยังเกาะไต้หวัน  แต่ได้สิ้นพระชนม์ชีพที่กลางทะเลนั่นเอง   ข้าราชบริพาร  พากันแต่งกายไว้ทุกข์  และ จัดพิธีทางศาสนาพุทธเป็นการอำพราง  แต่สิ่งของต่าง ๆ  ในพิธีเป็นสีเหลืองซึ่งเป็นสีที่กษัตริย์จีนใช้  และ ในพิธียังใช้ราชาศัพท์   ชาวจีนแต้จิ๋วที่เดินทางมาจากฮกเกี้ยนที่ซึ่งกษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ซ้องเหยียบแผ่นดินเป็นแห่งสุดท้าย   ได้นำพิธีดังกล่าวมาประเทศไทยด้วย


การปฏิบัติตัวช่วงเทศกาลกินเจ

งดเว้นเนื้อสัตว์ หรือทำอันตรายต่อสัตว์
งด นม เนย หรือน้ำมันจากสัตว์
งดอาหารรสจัด หมายถึง อาหารรสเผ็ดมาก เค็มมาก หวานมาก เปรี้ยวมาก
งดผักกลิ่นฉุน 5 ชนิด คือ

1.
กระเทียมรวมทั้ง ต้นกระเทียมด้วย
2.หัวหอมรวมทั้ง ต้นหอม ใบหอม หอมแดง หอมขาว หอมหัวใหญ่
3.หลักเกียวหรือกระเทียมโทนจีน ลักษณะคล้ายหัวกระเทียม แต่มีขนาดที่เล็กและยาวกว่า
4.กุยฉ่ายใบคล้ายใบหอม แต่แบนเล็กกว่า
5.ใบยาสูบบุหรี่ ยาเส้น ของเสพติดมึนเมา
เนื่องจากผักดังกล่าวนั้น เป็นผักที่มีกลิ่นเหม็นคาวรุนแรง  ฉุน  รสเข้มหนัก  นอกจากนี้ ยังมีพิษ
ทำลายพลังธาตุทั้ง ๕ ของร่างกาย ทำให้อวัยวะในร่างกายทำงานผิดปกติ

ผักทั้ง ๕ ชนิด
ทำลาย อวัยวะหลักทั้ง ๕กระทบต่อ ธาตุสำคัญ
1.กระเทียมการทำงานของ หัวใจธาตุไฟ ในกาย
2.หัวหอมการทำงานของ ไตธาตุน้ำ ในกาย
3.หลักเกียวการทำงานของ ม้ามธาตุดิน ในกาย
4.กุยฉ่ายการทำงานของ ตับธาตุไม้ ในกาย
5.ใบยาสูบการทำงานของ ปอดธาตุโลหะ ในกาย
หลักการกินเจนั้น จึงมิใช่เพื่อให้เกิดผลดีต่อร่างกายอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อด้านจิตใจสดชื่น
เบิกบาน  ร่าเริงได้ในขณะเดียวกัน โดยยังมีอีก ๗ วัน    ที่คนจีน บางส่วน   นิยมงดเนื้อสัตว์ กินเจ คือ

1.
วันเกิดของตนเอง
2.วันเกิดของลูกหลาน
3.วันแต่งงาน
4.วันจัดเลี้ยงเพื่อนฝูงญาติมิตร
5.วันเซ่นไหว้บรรพบุรุษ
6.วันทำบุญสร้างกุศล
7.วันขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์
พิธีกรรมถือศีลกินเจ ไม่เสพเนื้อสัตว์ และการบูชาดาวนพเคราะห์ ทำบุญแจกทานแก่คนทุกข์ยากจนนี้   เป็นที่นิยมมาแต่โบราณกาล   การถือศีลกินเจเดือนเก้าเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ ได้แผ่เมตตา กรุณาถึง ๙ วัน ๙ คืนนั้นควรค่าแก่การอนุรักษ์สืบทอดต่อไปพิธีกรรมถือศีลกินเจ ไม่เสพเนื้อสัตว์ และการบูชาดาวนพเคราะห์ ทำบุญแจกทานแก่คนทุกข์ยากจนนี้   เป็นที่นิยมมาแต่โบราณกาล   การถือศีลกินเจเดือนเก้า
รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์ให้คงที่
ทำบุญ ทำทาน บางคนที่เคร่งอาจนุ่งขาว ห่มขาว

"อาหารเจ" เป็นอาหารที่ปรุงขึ้นจากพืชผักธรรมชาติล้วนๆ ไม่มีเนื้อสัตว์ปน และที่สำคัญต้องไม่ปรุงด้วยผักฉุนทั้ง 5 ตามความเชื่อทางการแพทย์จีน ของผักเหล่านี้มีรสหนัก กลิ่นรุนแรง เป็นเหตุให้อวัยวะหลักสำคัญภายในทั้ง 5 ทำงานไม่ปกติ

สำหรับคนที่กินเจอย่างเคร่งครัด นอกจากจะ "ถือศีล-กินเจ" แล้ว ยังต้องเลือกผู้ปรุงอาหารเจที่กินเจด้วย เพื่อให้ "อาหารเจ" นั้นบริสุทธิ์จริงๆ บางคนจะคัดแยกภาชนะบรรจุหรือปรุงอาหาร จากที่ใช้ใส่อาหารที่มีเนื้อสัตว์อย่างเด็ดขาด และในบางแห่งอาจพบว่ามีการจุดตะเกียงเก้าดวงไว้เป็นเวลา 9 วันตลอดระยะเวลากินเจ เพื่อรำลึกถึงบุญคุณพ่อแม่ญาติพี่น้อง และเพื่อเป็นพุทธบูชา

การกินเจทำได้ 2 แบบ คือ

1.กินเป็นกิจวัตร คือ ละเว้นการกินเนื้อสัตว์ทั้ง 3 มื้อทุกวัน
2.กินเฉพาะช่วงกินเจ คือ กินเจช่วงวันขึ้น 1 ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน
กินเจเพื่ออะไร
          จุดประสงค์หลักของการกินเจ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
           1. กินเพื่อสุขภาพ เพราะอาหารเจเป็นอาหารชีวจิต เมื่อกินติดต่อกัน จะทำให้ร่างกายสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ และปรับระบบต่างๆ ในร่างกายให้มีเสถียรภาพ
           2. กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากทุกๆ วัน อาหารที่เรากินประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้ที่มีจิตใจดีงามจึงไม่สามารถกินเนื้อของสัตว์เหล่านั้นได้

           3.กินเพื่อเว้นกรรม เพราะการฆ่าเอาเลือดเนื้อผู้อื่นมาเป็นของเราเป็นการสร้างกรรม แม้จะไม่ได้ลงมือฆ่าเองก็ตาม เพราะการซื้อผู้อื่นเท่ากับการจ้างฆ่า ถ้าไม่มีคนกินก็ไม่มีคนฆ่ามาขาย ผู้ที่เข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมจึงหยุดกิน หันมารับประทานอาหารเจแทน โดยไม่เห็นแก่ความอร่อยในช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแค่ให้อาหารผ่านลิ้นเท่านั้น

ประโยชน์ของการกินเจ

          การกินอาหารเจ นอกจากจะเป็นการถือศีลรักษาประเพณี และละเว้นชีวิตแล้ว ยังให้ประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้

           1. ร่างกายสามารถขับถ่ายของเสียออกได้หมดทำให้ ไม่มีสารพิษตกค้างอยู่ภายใน เพราะสารอาหารจากพืชผักและผลไม้จะช่วยให้ระบบขับถ่ายและการย่อยเป็นปกติ

           2. เมื่อรับประทานเป็นประจำ โลหิตจะถูกฟอกให้สะอาดขึ้นเรื่อยๆ เซลล์ต่างๆ ของร่างกายเสื่อมสลายช้าลง ทำให้อายุยืนยาวมีผิวพรรณสดชื่นผ่องใส ร่างกายแข็งแรงรู้สึก มีสุขภาพดี

           3. อวัยวะหลักสำคัญภายใน ได้แก่ หัวใจ ไต ม้าม ตับ ปอด และอวัยวะประกอบคือ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ กระเพาอาหาร ถุงน้ำดี แข็งแรงทำงานได้เป็นปกติสมบูรณ์

           4. ร่างกายสามารถต้านทานต่อสารพิษต่างๆ ได้แก่ สารเคมี ยาฆ่าแมลง มลภาวะ และก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ในอุตสาหกรรม ไอเสียจากเครื่องจักร เครื่องยนต์ ซึ่งสารอาหารในพืชผัก จะช่วยให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายสามารถทนต่อการทำลายจากรังสีต่างๆ ได้

           5. สามารถต้านทานสารพิษได้สูงกว่าคนปกติ ในบรรดาผู้ที่ทานเจมักไม่ปรากฎโรครุนแรงหรือเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดตีบ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคไต ฯลฯ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบขับถ่าย ย่อยอาหารและทางเดินอาหาร เช่น โรคริดสีดวงทวาร มะเร็งในกระเพาะและลำไส้ โรคกระเพาะ อาหารไม่ย่อย โรคเหล่านี้จะไม่พบเลยในกลุ่มคนผู้ที่รับประทานอาหารเจ อาหารพืชผักและผลไม้เป็นประจำ

           6.การกินเจทำให้เกิดความเมตตา เกิดความสงบสุขุม อารมณ์ไม่ฉุนเฉียว ไม่โมโหง่าย ซึ่งจะช่วยเกื้อกูลส่งเสริมให้บารมีธรรมสูงขึ้นเรื่อยๆ

           7.หยุดการสร้างบาป เวรกรรม ทำให้ไม่เกิดการอาฆาต พยาบาท จึงปราศจากศัตรูทั้งมนุษย์และสัตว์ที่คิดมุ่งทำร้ายตามจองเวร
                                                   อาหารเจเพื่อสุขภาพ